คราฟต์เบียร์ Craft Beer คืออะไร ทำไมกำลังเป็นที่นิยม

คราฟต์เบียร์
คราฟต์เบียร์ คืออะไร หลายคนอาจเกิดความสงสัยกับคำว่า คราฟต์เบียร์ เพราะชีวิตนี้น่าจะคงดื่มแค่คอมเมอเชียลเบียร์ที่ขายทั่วไปตามตลาดโดยนายทุนไม่กี่ยี่ห้อ ตามห้าง และ ร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ มีอยู่ไม่กี่ยี่ห้อ จึงไม่แปลกใจทำไมคราฟต์เบียร์นั้น คนไทยหลายคนจึงไม่เป็นที่รู้จักกัน บางทีอาจจะเป็นศัพท์ นิยามเรียกได้ว่าไม่คุ้นหูเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นคำศัพท์ใช้เฉพาะกลุ่ม ที่ไม่ใช่ศัพท์บัญญัติในไทยใหม่ เพราะเบียร์นั้น มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์เป็นอย่างมาก เบียร์ไทย ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างทำให้ไม่มีตัวเลือกให้นักดื่ม ในการดื่มเบียร์มากนัก และ ทำให้รู้จักประเภทของเบียร์ไม่กี่ประเภท ซึ่งส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นจะเป็นเบียร์คอมเมอร์เชียล หรือเบียอุตสาหกรรมประเภท Lager Beer แต่ระยะหลัง ๆ มานี้กระแสคราฟ์เบียร์จากต่างประเทศ ได้เริ่มเข้ามามีบทบาท เป็นแกกสในไทยเป็นอย่างมาก รวมถึงยังช่วยสร้างกระแสนิยมในไทยมากยิ่งขึ้น ทำให้คนไทยเริ่มจะมีทางเลือกในการดื่มเบียร์มากยิ่งขึ้น

เบียร์คราฟต์ หรือ (Craft Beer) เป็นการผลิตเบียร์แบบ Handmade โดยจะเป็นการใช้ฝีมือ และ ความประณีตพิถีพิถันในการปรุงแต่งรสชาติให้แตกต่างจากเบียร์อื่น ๆ และ มีกลิ่นเฉพาะตัวที่จะทำให้คนที่ดื่มจดจำรสชาติของเบียร์เราได้ โดยจะมีการใช้วิธีหมักเบียร์แบบดั้งเดิม และ ประยุกต์กับการทำเบียร์สมัยใหม่ โดยที่ยังคงความเป็นเอกลักในการทำเบียร์ ซึ่งจะเป็นการผลิตเบียร์โดยผู้ผลิตขนาดย่อมในโรงเบียร์ขนาดเล็ก หรือโรงเบียร์ของชาวบ้านก็ถือว่าเป็นการคราฟต์เบียร์ด้วยเช่นกัน

ต้นกำเนิด คราฟต์เบียร์ หรือ เบียร์คราฟต์ที่สักครั้งต้องได้ลอง

คราฟต์เบียร์ เป็นกระแสนิยมที่สหรัฐอเมริกาเมื่อหลาย 10 ปีที่ผ่านมา คำว่า คราฟต์ เบียร์ หมายความถึง เบียร์จากผู้ผลิตอิสระรายย่อย ซึ่งมีกำลังการผลิตแบบจำกัด พวกเขาจะผลิตเบียร์ใหม่ ๆ แปลก ๆ ทั้งในเรื่องกลิ่น รสชาติที่แตกต่าง ส่วนผสม และ วิธีการผลิตออกมาแชร์ให้คนอื่นสามารถทดลองทำตามได้ นอกจากจะนิยมที่สหรัฐอเมริกาแล้ว ปัจจุบันก็มีตลาดเบียร์คราฟที่เยอรมัน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และ อื่น ๆ ที่นิยมผลิตคราฟต์ เบียร์ ออกมา 

กระแสของคราฟต์เบียร์ได้เริ่มเข้ามาในไทย มากกว่า 10 ปีแล้ว แต่ก่อนเบียร์คราฟต์นั้นส่วนมากจะนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะกฎหมายสุราในประเทศเรายังไม่อำนวยความสะดวกต่อผู้ผลิตรายเล็ก เป็นอุปสรรคในการผลิตเบียร์คราฟต์ในบ้านเรา ซึ่งทำให้เบียร์คราฟมีราคาที่สูงมาก แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่นิยมดื่มด่ำกับเบียร์รสชาติใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเบียร์ในท้องตลาด

Craft Beer ในไทย สามารถทำได้หรือไม่?

ในช่วงแรก ๆ คราฟต์เบียร์ไทยที่วางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านต่าง ๆ 100% มีฐานผลิตอยู่ต่างประเทศ และ อิมพอร์ตเข้ามาจำหน่ายในไทยแบบถูกกฎหมาย สาเหตุที่ต้องทำแบบนั้น เนื่องจากกฎหมายการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 ของไทย มีข้อกำหนด และ เงื่อนไขที่ยากต่อการเริ่มต้นสำหรับประชาชนทั่วไปที่มีทุนน้อย โดยมีข้อสรุปหลักๆ ดังนี้

  • ต้องเป็นบริษัทซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และ มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
  • มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51% ของจํานวนหุ้นทั้งหมด
  • มีเงินค่าหุ้น หรือเงินลงทุนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
  • ในกรณีที่ผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต จะต้องมีขนาดกำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรต่อปี และไม่เกิน 1,000,000 ลิตรต่อปี (ประมาณไม่ต่ำกว่า 30,000 ขวด/ปี)

แต่เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมาทางกรมสรรพสามิต ได้มีการแก้ไขกฏกระทรวง เปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาที่มีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และ นิติบุคคลสามารถขอใบอนุญาตผลิตสุราได้ โดยมีข้อบังคับดังนี้

กรณีที่ไม่ใช่การค้า 

  • ต้องขออนุญาตกับกรมสรรพสามิต
  • กำลังการผลิตในครัวเรือนจะต้องไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี
  • ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะไม่น้อยกว่าอายุ 20 ปีบริบูรณ์
  • สุรา เบียร์ สุราแช่อื่นๆ เมื่อผลิตแล้วจะต้องนำมาให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพก่อน เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนต่างๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

ซึ่งเปิดโอกาศให้คนที่รักในการดื่มเบียร์ ได้มีโอกาสในการคิดค้น สูตรคราฟเบียร์ เป็นของตัวเอง

Craft Beer ทำมาจากอะไร? คำว่าเบียร์ มาจากไหน

คราฟต์เบียร์

ถ้าพูดถึงเบียร์แล้ว เรจะนึกถึงประเทศเยอรมันเพราะชาวเยอรมัน เบียร์ถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มประจำชาติเลยก็ว่าได้ แล้วเบียร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมานับพันปี โดยเริ่มแรกนั้น เบียร์เยอรมัน จะถูกผลิตขึ้นในโบสถ์ทางตอนใต้ของประเทศ และ ริเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะในสมัยนั้นเบียร์ถือว่ามีความสะอาด และ เชื่อกันว่าดีต่อสุขภาพ จนกระทั่งเมื่อ 500 ปีก่อน ได้มีการประกาศใช้กฎหมายความบริสุทธิ์ของเบียร์ (The Purity Law)
เพื่อควบคุมคุณภาพของเบียร์โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งเดิมถูกบังคับใช้เฉพาะแคว้นบาวาเรียกเท่านั้น จากนั้นจึงได้บังคับใช้ทั่วทั้งประเทศในเวลาต่อมา

ปัจจุบัน กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้เบียร์มีวัตถุดิบหลัก 4 อย่างคือ

– ยีสต์ (Yeast) นี่คือสิ่งที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
Top Ferment – Ale Yeast ยีสต์ผิวหน้าของน้ำเบียร์
Bottom Ferment – Lager Yeast ยีสต์ด้านล่างของน้ำเบียร์

– ฮ็อปส์ (Hops) พืชที่ใช้ถนอมอาหาร ใช้แค่ส่วนของดอกในการหมัก เพื่อให้ได้กลิ่นหอม และ รสขม

– มอลต์ (Malt) เมล็ดธัญพืชที่นำมาหมักเบียร์ มอลต์แต่ละแบบมีผลต่อสี และ รสชาติของเบียร์ (เปลี่ยนใช้ข้าวชนิดอื่นได้ เช่น ข้าวสาลี)

– น้ำ (Water) เบียร์มีส่วนประกอบเป็นน้ำ 95% ขึ้นไป น้ำจากแหล่งที่ต่างกันก็มีรสชาติ และ แร่ธาตุที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อรสชาติเบียร์

จากข้อกำหนดเรื่องวัตถุดิบ จึงทำให้รสชาติของเบียร์ที่ผลิตในประเทศเยอรมนีมีลักษณะเฉพาะตัว และ เป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น

ทำยังไงถึงออกมาเป็นคราฟต์เบียร์ได้? ผ่านวิธีการผลิตอะไรบ้าง

เบียร์จากที่กล่าวมานั้น จะมีวัตถุดิบหลักอยู่ 4 อย่าง ยีสต์ มอลต์ ฮ็อปส์ น้ำ ซึ่งจะทำให้เกิดเบียร์ออกมาได้นั้นต้องผ่านการผลิตอย่างพิถีพิถัน และ ทำอย่างรอบครอบ มีความสะอาดถูกสุขลักษณะ ไม่งั้นอาจจะทำใหเบียร์เรานั้นติดเชื้อได้ และ ในการผลิตเบียร์คราฟต์นั้นสามารถประยุกต์ได้หลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน แต่กระบวนการผลิตเบียร์พื้นฐานแล้วนั้นจะทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • Mashing : การนำมอลต์บดหยาบต้มในน้ำอุ่นประมาณ 60 – 70 องศาเซลเซียส และนำไปต้มใน Mash Tun ผสมจนได้น้ำลักษณะเหลวข้นหวาน ๆ เรียกว่า Wort
  • Boiling : นำ Wort มาต้มให้เดือดในอุณหภูมิ 100 องศา แล้วใส่ hops ลงไปตามสูตรที่ต้องการ
  • Whirlpool : วนน้ำที่ต้มแล้ว ทำให้เกิดการตกตะกอนและเพื่อลดอุณหภูมิให้เหมาะสำหรับขั้นตอนในการหมักต่อไป
  • Ferment : ย้ายน้ำ Wort มาใส่ในถังหมัก ใส่ยีสต์ตามชนิดที่ต้องการเพื่อให้ยีสต์เปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยขั้นตอนนี้ต้องควบคุมอุณหภูมิ จนได้ค่าปริมาณแอลกอฮอล์ตามต้องการ การทำงานของยีสต์แบ่งเป็น 2 แบบตามประเภทของยีสต์คือ
    Ale Yeast คือยีสต์ที่ทำงานที่ผิวหน้าของน้ำเบียร์ (Top ferment) จะได้ เบียร์ประเภท Ale
    Lager Yeast คือยีสต์ที่ทำงานด้านล่างของน้ำเบียร์ (Bottom ferment) จะได้ เบียร์ประเภท Lager
  • Packaging : นำเบียร์ที่ได้มาบรรจุใส่ขวดกระป๋องหรือถัง ตามความต้องการของผู้ผลิต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ที่ : คราฟต์เบียร์

อ้างอิง :
https://workpointtoday.com/unlock-liquor-production/
https://maximthai.com/คราฟต์เบียร์-คืออะไร/
https://craft.co.th/blogs/knowledges/craft-beer
https://www.longtunman.com/30799