Lager Beer เบียร์ที่คนไทยต้องร้องอ๋อ

Lager Beer (ลาเกอร์เบียร์) เป็นเบียร์ที่ผลิตโดยการใช้ยีสต์ประเภทหมักนอนก้นถัง (Bottom-fermentation yeast) ซึ่งกระบวนการหมักจะเกิดขึ้นบริเวณด้านล่างของถังหมักเบียร์ จึงนิยมเรียกการหมักแบบนี้ว่า เป็น Bottom -Fermentation โดยใช้อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 5-15 องศาเซลเซียส หลังจากเสร็จกระบวนการหมักแล้ว ลาเกอร์ จะถูกเก็บไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 0 ถึง 32 องศาเซลเซียส เป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือ หลายเดือน ก่อนจะนำออกมาบริโภค ซึ่งจะทำให้น้ำเบียร์มีสีที่ใส และ มีปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ สูงทำให้เบียร์เกิดความซ่า

Lager Beer กับความเป็นมาที่ยาวนาน

ลาเกอร์ มีการบันทึกไว้ว่า คนสมัยนั้นได้ค้นพบการหมักเบียร์ แบบที่ใช้ยีสต์ที่ลงไปนอนอยู่บริเวณก้นถังหมักเป็นตัวบ่ม และ ผู้ที่ค้นพบในเวลานั้นคือชาวเยอรมันที่อาศัยในแคว้นบาวาเรียน และ ชาวเยอรมันที่ไปอาศัยอยู่ในประเทศเช็กเกีย ในช่วง 2 ทศวรรษแรก  เบียร์ชนิดนี้นิยมแค่ในหมู่คนท้องถิ่น แต่เมื่อชาวยุโรปชาติอื่น ๆ ได้เข้ามาแล้วได้ลองชิมเบียร์ ต่างพากันติดใจ และ ได้นำเบียร์ชนิดนี้ไปโปรโมตในบ้านเกิดของตนเอง จนกลายเป็นที่นิยมกันทั่วบ้านทั่วเมอง และ เป็นรู้จักโด่งดังนับแต่นั้นมา

ยุคทองของเบียร์สีทองอร่าม เบียร์ลาเกอร์ ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 1840 หรือศตวรรษที่ 19 เมื่อเริ่มมีการคิดค้น ทดลองหมักเบียร์ลาเกอร์ในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้มีจุดเด่น และ จุดขายมากยิ่งขึ้น การที่เราสามรถหมักจนเบียร์เป็นสีทอง หรือสีอำพันได้ ก็จะเรียกว่า แอมเบอร์ ลาเกอร์ ถ้าเป็นสีน้ำตาลเข้ม ไปจนถึงสีดำจะเรียกว่า Dark Lager ถึงจะสีเหมือนกันกับ เอล แต่ดาร์กลาเกอร์ก็ไม่มีความเหมือนพวก Ale เลยทีเดียว เพราะลาเกอร์สีดำชนิดนี้จะมีจุดเด่นอยู่ที่กลิ่นมอลต์ที่ผ่านการคั่วมาอย่างดี และ ยังมีรสหวานหอม อร่อยบาง ๆ 

เมื่อมีเบียร์รสชาติที่ดีแล้ว มีเบียร์หลายประเภทให้เลือกหลายชนิด ก็ยิ่งทำให้เบียร์ชนิดนี้ได้รับความนิยม เริ่มเป็ยที่รู้จักขยับขยายมาจนถึงฝั่งเอเชีย อย่างคนไทยเองก็ได้ลิ้มลองรสชาติเบียร์ลาเกอร์เป็นครั้งแรกโดยพระยาภิรมย์ภักดี ที่ได้เดินทางไปเรียนรู้วิธีทำเบียร์ถึงประเทศเยอรมัน และ มาทำออกวางจำหน่ายเมื่อปี 2476 รวมทั้งยังได้มีการทำเบียร์สดแบบที่อัดถังวางจำหน่ายในครั้งแรกปี 2477 ด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นแค่แบบไลท์ ลาเกอร์ ไม่มีเบียร์ดำอื่น ๆ เลย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และทุกวันนี้บริษัทของพระยาภิรมย์ภักดีก็ยังจำหน่ายเบียร์อยู่เช่นกัน

Lager (ลาเกอร์)

Lager ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ให้สีสว่างใส พร้อมรสสัมผัสของ Malt ที่หนักแน่น ให้รสสัมผัสที่สดชื่น คลีน สัมผัสรสของข้าวมอลต์หนักแน่น และสดชื่น, ฟองละเอียด และแอลกอฮฮล์สูง สามารถดื่มคู่กับ เนื้อปลา, อาหารรสเผ็ด, เช่นอาหารเอเชีย หรืออาหารประเทศไทยจองเรา
Lager Beer
Pilsner Beer

Pilsner (พิลส์เนอร์)

Pale Ale (เพลเอล) เป็นเบียร์ที่ผ่านกระบวนการหมักร้อนด้วยมอลต์สีอ่อน โดยมีอัตราส่วนของมอลต์ และฮอปส์ปริมาณเท่า ๆ กัน ทำให้เบียร์ชนิดนี้มีรสชาติกลมกล่อม มีความสมดุลของรสขมและหวาน ทำให้ดื่มง่าย เหมาะสำหรับนักดื่ม craft beer หน้าใหม่ เบียร์ชนิดเหมาะกับการทานคู่กับอาหารปิ้งย่าง และอาหารรสเผ็ด โดยมีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณ 3.9- 7 ดีกรี

Bock (บ็อค)

Beer จากแคว้น Bavaria มีสีสันที่เข้มข้นจาก มอลต์ คั่ว หรือ Dark Malt นิยมหมักในฤดูหนาว แล้วนำออกมาดื่มช่วงฤดูใบไม้ผลิ ให้สีเข้ม, โดดเด่นด้วยกลิ่น และรสชาติของ Malt (มอลต์) และ Hops (ฮอปส์) ควรดื่มคู่กับ เนื้อวัว เนื้อหมู แฮม เป็นต้น เดิมทีถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Ale แต่มีการปรับกรรมวิธีการผลิตเป็นแบบ Lager ในศตวรรษที่ 17
Bock Beer
Dunkel Beer

Dunkel (ดุงเคล)

เป็น Lager อีกชนิดที่มีแอลกอฮล์สูง มีอีกชื่อเรียกคือ “เบียร์ดำ” จากความเข้มข้นของสี มีรสชาติของ Malt ที่นุ่มนวล มักจะให้รสของช็อกโกแลต, กาแฟ และ ชะเอม ควรดื่มคู่กับ เนื้อวัว, ผัก และ ชีสที่มีรสเผ็ด เป็นสไตล์ที่นิยม และ พบเห็นได้ในกรุง Munich

เบียร์ลาเกอร์ ในไทยที่คนไทยนิยมดื่มกัน

ทุกวันนี้เริ่มมีเบียร์ ลาเกอร์ น้องใหม่ให้ได้เห็นกันมากขึ้น ทั้งของคนไทยด้วยกันเอง และ ของประเทศต่าง ๆ อย่าง เบยลาว ของประเทศลาว เบียร์ซัปโปโรจากญี่ปุ่น ไปจนถึงเบียร์ต้นตำหรับจากเยอรมัน ถ้าคุณเคยรู้สึกว่าการดื่มลาเกอร์เป็นเรื่องน่าเบื่อ เพราะมันก็งั้น ๆ ไม่ได้มีลูกเล่นอะไรมากมาย ก็อยากให้ลองเปลี่ยนไปลองของแท้จากเยอรมัน หรือประเทศทางฝั่งยุโรปไปเลย จะได้รู้ว่ารสชาติของเบียร์ที่แท้จริงมันเป็นอย่างไร

เบียร์ลาเกอร์ของไทย

  • เบียร์สิงห์ (Singcha)
  • ลีโอ(LEO)
  • ช้าง(Chang)
  • อาชา
  • เฟเดอร์บรอย
  • แบล็ค ดราก้อน และ ฮันทส์แมน

ซึ่งจะพบเจอตามร้านค้า และ ห้าง Super market ทั่วประเทศ 

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ที่ : คราฟต์เบียร์

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม : 

อ้างอิง :
https://th.liq9.asia/blog/type-of-beer.html
https://www.mendetails.com/life/ประเภท-เอล-know-ale-guide-jan21/
https://thomasthailand.co/lifestyle/craft-beer/
https://th.liq9.asia/blog/type-of-beer.html